วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อุปกรณ์ประมวลผล


อุปกรณ์ประมวลผล
อุปกรณ์ประมวลผล ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผล จะประกอบด้วย
- ซีพียู ( CPU - Central Processing Unit) เป็นอุปกรณ์หลักในการประมวลผลภายในคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่ควบคุมและประมวล ผลจากอุปกรณ์นำ ข้อมูลเข้า ( Input Device) แล้วส่งผลลัพธ์ออกไปยังอุปกรณ์แสดงผล ( Output Device)
ซีพียู (CPU)
ซีพียู คืออะไร ?
ซีพียู (CPU) คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น
CPU ทำหน้าที่อะไร
CPU หรือ Central Processing Unit เป็นหัวใจหลักในการประมวลของคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกะเท่านั้น แต่ทำไมการคำนวณขนาดนี้ ต้องมีการพัฒนาซีพียูกันไม่หยุดหย่อน ย้อนกลับไปปี 1946 คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีชื่อที่พอจะจำได้ก็คือ ENIVAC นั้นทำงานโดยใช้หลอดไดโอด ซึ่งสถานะการทำงานของหลอดพวกนี้ มีสองอย่าง คือ 1 กับ 0 จะมีค่าเป็น 1 เมื่อมีกระแสไหลผ่านและเป็น 0 เมื่อไม่มีกระแสไหลผ่าน นั่นจึงเป็นเหตุผลให้คอมพิวเตอร์ใช้เลขฐาน 2 ในการคำนวณ ครั้นต่อมาวิทยาการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จากหลอดไดโอดก็พัฒนาเป็นทรานซิสเตอร์ และจากทรานซิสเตอร์ก็พัฒนาเป็นวงจรขนาดเล็ก ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ IC และในที่สุดก็พัฒนาเป็น Chip อย่างที่เรารู้จักกันมาจนปัจจุบันนี้ สิ่งที่ผู้ผลิตซีพียูพยายามเพิ่มก็คือ ประสิทธิภาพในการประมวลผลของซีพียู เมื่อกล่าวถึงซีพียูและการประมวลผล สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจคือภายในซีพียูไม่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ และซีพียูในยุคแรกๆ ก็ไม่มี Cache ด้วยซ้ำไป ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียูก็คือ ความเร็วในการประมวลผลและความเร็วในการโอนย้ายข้อมูล ซีพียูในยุคแรกๆ นั้นประมวลผลด้วยความเร็ว 4.77 MHz และมีบัสซีพียู (CPU BUS) ความกว้าง 8 บิต เรียกกันว่าซีพียู 8 บิต (Intel 8080 8088) นั้นก็คือซีพียูเคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 1 ไบต์ ยุคต่อมาเป็นซีพียู 16 บิต 32 บิต และ 64 บิต ปัจจุบันโดยเฉพาะซีพียูรุ่นใหม่ๆ เคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 128 บิต ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลนั้น เกิดขึ้นจากการควบคุมสัญญาณนาฬิกา ซึ่งนับสัญญาณเป็น Clock 1 เช่น ซีพียู 100 MHz หมายความว่าเกิดสัญญาณนาฬิกา 100 ครั้งต่อวินาที
กลไกการทำงานของซีพียู
การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น
ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียู
ความสามารถในการประมวลผล (Processing Power) คือประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานของซีพียู ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของซีพียู เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) โดยทั่วไปจะใช้ซีพียูในตระกูลของอินเทล เช่น Pentium I, Pentium II, Pentium III ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นจะใช้ซีพียูที่ต่างกันออกไป
คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้
รีจิสเตอร์
หน่วยความจำภายนอก
สัญญาณนาฬิกา เป็นจังหวะ สัญญาณ (Pulse) ในหนึ่งรอบสัญญาณ (Clock Cycle) คอมพิวเตอร์จะคำนวณหนึ่งครั้ง ส่วนความเร็วของรอบสัญญาณ คือจำนวนรอบของสัญญาณต่อวินาที ซึ่งมีความเร็วมากกว่า 100 ล้านรอบต่อวินาที (100 Megahertz) (แอนนา 2540: 9)
บัส
หน่วยความจำแคช
• Passing Math Operation
ในที่นี้จะยกตัวอย่างไมโครโปรเซสเซอร์ (CPU) ของ Intel ซึ่งมีวิวัฒนาการมาตามลำดับดังนี้
4004: เป็นไมโครโปรเซสเซอร์รุ่นแรกของ Intel มีหน่วยความจำขนาด 4 บิต อ้างอิงหน่วยความจำได้ 640 byte ผลิตด้วยเทคโนโลยีของ P-Channel MOSFET สามารถประมวลผลคำสั่งได้ 50 KIPs(Kilo Instruction per second)
8008: เป็นไมโครโปรเซสเซอร์ขนาด 8 bit มีหน่วยความจำ 16 Kbyte
8080: เป็นไมโครโปรเซสเซอร์รุ่นแรกที่การนำมาใช้งานในแบบ Personal Computer มีหน่วยความจำ 64 Kbyte
8086-8088: เป็นไมโครโปรเซสเซอร์ขนาด 16 bit อ้างอิงหน่วยความจำได้ 1 Mbyte โดยมีการเพิ่มชุดคำสั่งในการคูณและหาร มีการใช้สถาปัตยกรรมแบบ CISC (Complex Instruction Set Computer)
80286: เป็นไมโครโปรเซสเซอร์ขนาด 16 bit รุ่นที่เริ่มมีการใช้งานคอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลาย สามารใช้หน่วยความจำได้ถึง 16 Mbyte ที่สัญญาณนาฬิกา 8 MHz
80386: เป็นยุคเริ่มต้นของการพัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ขนาด 32 bit มีการทำงานแบบ Multitasking และพัฒนาให้สามารถใช้งานหน่วยความจำได้ถึง 4 Gbyte
80486: เพิ่มการติดตั้ง Math-coprocessor เข้าไปใน CPU เพื่อให้สามารถทำการคำนวณเลขทศนิยมได้มากขึ้น
80586 หรือ Pentium: ได้มีการพัฒนาคำสั่งที่ใช้งานกับ multimedia (Multimedia Extension หรือที่เราเรียกว่า MMX นั่นเอง)สามารถประมวลผลคำสั่งได้ครั้งละ 2 คำสั่งแยกกัน ซึ่งเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า Superscalar
Pentium Pro: เิพิ่มความสามารถในการประมวลผลจากรุ่น Pentium คือสามารถประมวลผลเลขจำนวนเต็มจากเดิม 2 ชุด มาเป็นการประมวลผลเลขจำนวนเต็ม 3 ชุด พัฒนาให้สามารถใช้งานหน่วยความจำได้ถึง 64 Gbyte และพัฒนาการนำระบบ cache มาใช้เพื่อลดเวลาในการรอคอยของ CPU
Pentium II: พัฒนาระบบ cache โดยนำ cache level 2 มารวมอยู่บนตัว CPU
Celeron: เป็นไมโครโปรเซสเซอร์สำหรับตลาดระดับล่างของ Intel โดยลดความสามารถของ CPU ลง และมี cache ที่มีขนาดเล็ก
Pentium III: มีการเพิ่มชุดคำสั่งที่ช่วยประมวลผลในด้านต่างๆลงไป ในเทคโลยี MMX ปรับปรุงประสิทธิภาพของ cache ให้มีอัตราการรับส่งข้อมูลที่เร็วขึ้น
Pentium 4: มีการพัฒนาเทคโนโลยี Hyperthreated ทำให้สามารถทำงานพร้อมๆกันทีละหลายๆโปรแกรมได้ดีขึ้น
Pentium M: เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีของ Pentium 4 ให้ใช้กำลังไฟน้อยลง เพื่อนำมาใช้ใน notebook ให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น
Pentium D: เริ่มใช้สถาปัตยกรรมแบบ Multicore โดยมี 2 core แยกออกมา
Intel Core 2 Duo: พัฒนาจาก Pentium D โดยใช้การแชร์ 2 core ด้วยกัน หรือที่เราเรียกว่า dual core นั่นเอง
เพื่อให้เห็นวิวัฒนาการในด้านต่างๆของ CPU ได้อย่างชัดเจน จึงใช้ตารางนำเสนอลักษณะของ CPU ใน 5 ด้าน ดังนี้
1. ความเร็วในการทำงาน (Clock frequency)
2. จำนวนคำสั่งที่สามารถทำงานได้ต่อวินาที (Millions of Instruction per second: MIPS)
3. จำนวนของทรานซิสเตอร์ที่อยู่ภายใน
4. ขนาดของ CPU (Pixel size)
5. ขนาดของข้อมูลที่สามารถประมวลผลได้ (Address bus bits)
Microprocessor hall of fame (Intel Single core)


ปัจจุบัน CPU ได้พัฒนาจนอยู่ในรูปแบบของ multiple core โดยมีทั้ง Dual Core, Quad Core และ Octa Core
ที่มา
.ส ภัทราวดี  ศรีไชยวงค์  ชั้นปีที่ 1 กลุ่ม 2 รหัส 55641204041-3
คณะบริหารธุรกิจและศิลปะศาสตร์ สาขาระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Google Chrome



                                                           


Google Chrome
 Google Chrome  คือ เวบบราว์เซอร์อันใหม่และอันแรกของ Google และในอนาคตจะใช้เป็นชื่อของระบบปฏิบัติการตัวใหม่ของ Google คาดว่าชื่อ Chome OS นั้นเองครับ แข่งกับ Microsoft ครับ ติดตามนำมาใช้ได้ครับ ก็เท่าที่ลองใช้ Chome OS ใช้เวลาบู๊ตเครื่อง(เปิดเครื่งอง) 7 วินาที เท่านั้น
Google Chrome คือเว็บเบราเซอร์ที่ใช้เอนจิ้นตัวเดียวกับ Safari ที่ชื่อ Webkit ใครที่ผิดหวังกับ Safari ใน Windows ที่กินแรมเยอะ อืด เปิดช้า ไม่เหมือนใน Mac ลองใช้ Google Chrome ดู ไม่ผิดหวังแน่นอน ความเร็วพอๆกับ Safari ใน Mac
คือเว็บเบราเซอร์ที่ใช้เอนจิ้นตัวเดียวกับ Safari ที่ชื่อ Webkit ใครที่ผิดหวังกับ Safari ใน Windows ที่กินแรมเยอะ อืด เปิดช้า ไม่เหมือนใน Mac ลองใช้ Google Chrome ดู ไม่ผิดหวังแน่นอน ความเร็วพอๆกับ Safari ใน Mac

  Google Chrome เป็นกลุ่มสำหรับการใช้งานบนเว็บ และการติดต่อสื่อสาร แบบงานที่ใช้เป็นแบบ Freeware สามารถดาว์นโหลดบนอินเตอร์เน็ตได้ สมารกใช้งานได้ฟรี แต่ไม่สามารถนำไปพัฒนาต่อหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้
   Google Chrome คือเว็บเบราว์เซอร์ที่สร้างโดยกูเกิล เหมือนกับ Firefox  แต่ เร็ว กว่า  ด้วยการใช้งานที่ง่าย ฟรี และติดตั้งได้อย่างรวดเร็วในไม่กี่วินาที ซึ่งมีคุณสมบัติที่น่าสนใจมากมาย
- ช่องแถบสำหรับใส่ที่อยู่เว็บก็ใช้เป็นช่องค้นหาได้ด้วย

- สามารถตั้งเลือกค่าให้บุ๊คมาร์คในแต่ละเครื่องปรับตรงกันได้โดยอัตโนมัติ
- สามารถลากแท็บออกจากเบราว์เซอร์เพื่อสร้างหน้าต่างใหม่ และรวมหลายๆ แท็บไว้ในหน้าต่างเดียว
- แท็บทุกแท็บที่กำลังใช้ ทำงานอย่างอิสระในเบราว์เซอร์
- มีโหมดไม่ระบุตัวตนสำหรับการเข้าชมแบบส่วนตัว
- มีส่วนขยายให้เลือกติดตั้งเพิ่มลงไปตามต้องการ
น.ส.ภัทราวดี   ศรีไชยวงค์
รหัส 55641204041-3   กลุ่ม2

ที่มา http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=18786.0



วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


Maxbook
Os X Lion (New)

What is Os X Lion
Mac OS X  เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นล่าสุดในตระกูลแมคโอเอสสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช วางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 2001 ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ แกนกลาง ดาร์วิน (Darwin) ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมการทำงานแบบยูนิกซ์ที่เป็นโอเพนซอร์ส และส่วนติดต่อผู้ใช้แบบ  Aqua ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของแมคแอปเปิ้ล คอมพิวเตอร์เอง  แอปเปิลยังได้สร้างแมคโอเอส เท็นรุ่นปรับปรุง เพื่อนำไปใช้ในอุปกรณ์ของแอปเปิล 4 ตัวได้แก่ แอปเปิลทีวี ไอโฟน ไอพอดทัช และไอแพด โดยที่ไอโฟน ไอพอดทัช และ
ไอแพดนั้นจะใช้รุ่นของแมคโอเอสที่เรียกว่า iOS ซึ่งระบบปฏิบัติการที่แก้ไขนี้จะมีแต่สิ่งที่จำเป็นเท่านั้น ไดรเวอร์และส่วนประกอบอื่นที่ไม่จำเป็นจะถูกนำออกไป

1. Dock คือส่วนที่อยู่ด้านล่างของหน้าจอทั้งหมด บน Dock จะประกอบไปด้วย Icon ของโปรแกรมต่างๆ ที่ใช้งานเป็นประจำรวมไปถึงโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ในปัจจุบัน 



2. Menu Bar คือส่วนที่อยู่ด้านซ้ายบนของหน้าจอ โดยคำสั่งใน Menu Bar จะเปลี่ยนไปตามโปรแกรมที่กำลังใช้งาน ( เริ่มแรกจะเป็นของโปรแกรม Finder ซึ่งเป็นโปรแกรมหลักที่มีไว้สำหรับจัดการไฟล์และโฟลเดอร์รวมไปถึงการเปิดปิดโปรแกรม ทำหน้าที่คล้าย Explorer ในระบบปฏิบัติการ Window ) 

3. Status Bar คือส่วนที่อยู่ด้านขวาบนของหน้าจอ โดยจะมี Icon ต่างๆแสดงสถานะการทำงานในปัจจุบัน เช่น ไอคอนลำโพง ไอคอนแสดงภาษา ไอคอนแสดงการทำงานของระบบเครือข่ายไร้สาย หรือไอคอนแสดงสถานะของแบตเตอรี่ เป็นต้น
การติดตั้ง Mac OS X Lion มีด้วยกัน  2 วิธี คือ
1. การติดตั้งแบบอัพเกรด โดยจะเป็นการติดตั้ง 
Mac OS X Lion ลงทับ Mac OS X Snow Leopard โดยการติดตั้งแบบอัพเกรดนี้ จะไม่ทำให้ข้อมูลเดิมที่เคยทีการบันทึกไว้สูญหายไป เช่น เพลงใน iTunes, รายชื่อเพื่อนๆ ใน Address Book
2.
การติดตั้งแบบติดตั้งใหม่ทั้งหมด โดยจะเป็นการติดตั้งแบบล้างข้อมูลเดิมที่มีอยู่ออกทั้งหมด
ซึ่งทั้งสองวิธีสามารถติดตั้งจากแผ่น
DVD หรือจาก Flash Drive หรือติดตั้งผ่านอุปกรณ์เครือข่าย ได้